Article
Article บทความ หมายถึงงานเขียนที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ผลการวิจัย เผยแพร่ความรู้ การวิเคราะห์ทางการศึกษา การวิพากษ์วิจารณ์ เป็นต้น โดยปกติบทความหนึ่งบทความจะพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นประเด็นหลักเพียงเรื่องเดียว (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
Article
บทความ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนประกอบของบทความ
หัวเรื่อง
หัวเรื่องหรือพาดหัว (headline) เป็นข้อความที่อยู่บนสุดของบทความแสดงถึงประเด็นหลักของบทความ หัวเรื่องมักถูกออกแบบให้โดดเด่นสะดุดตา และใช้คำที่เลือกสรรมาให้เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง หัวเรื่องหรือพาดหัวมักจะถูกเขียนหรือพิมพ์ด้วยรูปแบบอย่างย่อ ซึ่งอาจเรียบเรียงอย่างไม่เป็นประโยคหรือไวยากรณ์ที่ไม่สมบูรณ์
บรรทัดผู้เขียน
บรรทัดผู้เขียน (byline) เป็นบรรทัดแรกถัดจากหัวเรื่องหรือบรรทัดสุดท้ายในบทความที่ลงชื่อผู้เขียน อาจเป็นชื่อจริงหรือนามปากกาก็ได้ และมักจะระบุตำแหน่งงานของผู้เขียนอยู่ด้วย บรรทัดผู้เขียนอาจมีบทสรุปย่อของบทความด้วยก็ได้
นำเรื่อง
นำเรื่อง (lead) ซึ่งอาจเรียกว่าย่อหน้าแนะนำ บทนำ หรือคำนำ เป็นประโยคต่าง ๆ ที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง นำเรื่องแสดงให้เห็นถึงเรื่องที่ต้องการนำเสนอ ปรับน้ำเสียงและแนะนำผู้อ่านเข้าสู่บทความ
ในบทความข่าว ส่วนนำเรื่องจะให้ข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดและตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร ในบทความโดดเด่น (บทความที่บรรณาธิการหยิบยกขึ้นเพื่อนำเสนอเป็นประเด็นสำคัญ) ผู้เขียนอาจเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการเปิดเนื้อเรื่อง เช่นการใช้สิ่งต่อไปนี้
- เกร็ดขำขัน
- ถ้อยแถลงที่เขย่าขวัญหรือสะเทือนใจ
- การวางนัยทั่วไป
- สารสนเทศที่ไม่มีการปรุงแต่ง
- การพรรณนา
- คำพูดหรือวาทกรรม
- การตั้งคำถาม
- การเปรียบเทียบเปรียบเปรย
เนื้อเรื่อง
สำหรับบทความข่าว รายละเอียดและความละเอียดเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดแจ้งในเนื้อเรื่องของข่าว และดำเนินไปอย่างราบรื่นต่อจากนำเรื่อง คำพูดและวาทกรรมจะถูกใช้ในบทความเพื่อเพิ่มอรรถรสและสนับสนุนเนื้อหาที่เขียน นอกจากนี้บทความข่าวส่วนใหญ่ก็ใช้อุปลักษณ์แบบพีระมิดกลับหัว
บทความโดดเด่นจะใช้รูปแบบตามความเหมาะสมตามประเภทของบทความ โครงสร้างของบทความโดดเด่นอาจมีสิ่งต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้ [1]
- ลำดับเวลา — บทความอาจบรรยายด้วยการเรียงลำดับอย่างหนึ่ง
- เหตุและผล — สาเหตุและผลลัพธ์ของเหตุการณ์หรือกระบวนการที่พิจารณา
- การแบ่งประเภท — สิ่งต่าง ๆ ในบทความที่ถูกจัดกลุ่มเพื่อช่วยทำให้เกิดความเข้าใจ
- การเปรียบเทียบและการเปรียบต่าง — สิ่งต่าง ๆ สองสิ่งหรือมากกว่านั้นถูกพิจารณาเคียงข้างกันเพื่อให้เห็นความคล้ายหรือความต่าง
- รายการ — ชิ้นส่วนสารสนเทศที่ถูกจัดวางไว้เป็นรายการเป็นข้อ ๆ
- คำถามและคำตอบ — เช่นบทสัมภาษณ์ของผู้มีชื่อเสียงหรือผู้เชี่ยวชาญ
สรุปเรื่อง
ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างบทความข่าวกับบทความโดดเด่นคือการสรุปเรื่องเพื่อจบบทความ การจบบทความข่าวจะปรากฏเมื่อสารสนเทศทุกอย่างได้นำเสนอทั้งหมดแล้วตามมโนทัศน์พีระมิดกลับหัว ในทางที่ต่างกัน บทความโดดเด่นจำเป็นต้องใช้การจบบทความมากกว่า สรุปเรื่องของบทความดังกล่าวมีสิ่งต่อไปนี้ แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้
- คำพูดหรือวาทกรรมส่งท้าย
- การพรรณนาฉากหรือเหตุการณ์ต่อจากนี้
- การเล่นคำกับชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง
- ถ้อยแถลงสรุปความ
บทความ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนประกอบของบทความ
หัวเรื่อง
หัวเรื่องหรือพาดหัว (headline) เป็นข้อความที่อยู่บนสุดของบทความแสดงถึงประเด็นหลักของบทความ หัวเรื่องมักถูกออกแบบให้โดดเด่นสะดุดตา และใช้คำที่เลือกสรรมาให้เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง หัวเรื่องหรือพาดหัวมักจะถูกเขียนหรือพิมพ์ด้วยรูปแบบอย่างย่อ ซึ่งอาจเรียบเรียงอย่างไม่เป็นประโยคหรือไวยากรณ์ที่ไม่สมบูรณ์
บรรทัดผู้เขียน
บรรทัดผู้เขียน (byline) เป็นบรรทัดแรกถัดจากหัวเรื่องหรือบรรทัดสุดท้ายในบทความที่ลงชื่อผู้เขียน อาจเป็นชื่อจริงหรือนามปากกาก็ได้ และมักจะระบุตำแหน่งงานของผู้เขียนอยู่ด้วย บรรทัดผู้เขียนอาจมีบทสรุปย่อของบทความด้วยก็ได้
นำเรื่อง
นำเรื่อง (lead) ซึ่งอาจเรียกว่าย่อหน้าแนะนำ บทนำ หรือคำนำ เป็นประโยคต่าง ๆ ที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง นำเรื่องแสดงให้เห็นถึงเรื่องที่ต้องการนำเสนอ ปรับน้ำเสียงและแนะนำผู้อ่านเข้าสู่บทความ
ในบทความข่าว ส่วนนำเรื่องจะให้ข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดและตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร ในบทความโดดเด่น (บทความที่บรรณาธิการหยิบยกขึ้นเพื่อนำเสนอเป็นประเด็นสำคัญ) ผู้เขียนอาจเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการเปิดเนื้อเรื่อง เช่นการใช้สิ่งต่อไปนี้
- เกร็ดขำขัน
- ถ้อยแถลงที่เขย่าขวัญหรือสะเทือนใจ
- การวางนัยทั่วไป
- สารสนเทศที่ไม่มีการปรุงแต่ง
- การพรรณนา
- คำพูดหรือวาทกรรม
- การตั้งคำถาม
- การเปรียบเทียบเปรียบเปรย
เนื้อเรื่อง
สำหรับบทความข่าว รายละเอียดและความละเอียดเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดแจ้งในเนื้อเรื่องของข่าว และดำเนินไปอย่างราบรื่นต่อจากนำเรื่อง คำพูดและวาทกรรมจะถูกใช้ในบทความเพื่อเพิ่มอรรถรสและสนับสนุนเนื้อหาที่เขียน นอกจากนี้บทความข่าวส่วนใหญ่ก็ใช้อุปลักษณ์แบบพีระมิดกลับหัว
บทความโดดเด่นจะใช้รูปแบบตามความเหมาะสมตามประเภทของบทความ โครงสร้างของบทความโดดเด่นอาจมีสิ่งต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้ [1]
- ลำดับเวลา — บทความอาจบรรยายด้วยการเรียงลำดับอย่างหนึ่ง
- เหตุและผล — สาเหตุและผลลัพธ์ของเหตุการณ์หรือกระบวนการที่พิจารณา
- การแบ่งประเภท — สิ่งต่าง ๆ ในบทความที่ถูกจัดกลุ่มเพื่อช่วยทำให้เกิดความเข้าใจ
- การเปรียบเทียบและการเปรียบต่าง — สิ่งต่าง ๆ สองสิ่งหรือมากกว่านั้นถูกพิจารณาเคียงข้างกันเพื่อให้เห็นความคล้ายหรือความต่าง
- รายการ — ชิ้นส่วนสารสนเทศที่ถูกจัดวางไว้เป็นรายการเป็นข้อ ๆ
- คำถามและคำตอบ — เช่นบทสัมภาษณ์ของผู้มีชื่อเสียงหรือผู้เชี่ยวชาญ
สรุปเรื่อง
ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างบทความข่าวกับบทความโดดเด่นคือการสรุปเรื่องเพื่อจบบทความ การจบบทความข่าวจะปรากฏเมื่อสารสนเทศทุกอย่างได้นำเสนอทั้งหมดแล้วตามมโนทัศน์พีระมิดกลับหัว ในทางที่ต่างกัน บทความโดดเด่นจำเป็นต้องใช้การจบบทความมากกว่า สรุปเรื่องของบทความดังกล่าวมีสิ่งต่อไปนี้ แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้
- คำพูดหรือวาทกรรมส่งท้าย
- การพรรณนาฉากหรือเหตุการณ์ต่อจากนี้
- การเล่นคำกับชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง
- ถ้อยแถลงสรุปความ
Article
บทความ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนประกอบของบทความ
หัวเรื่อง
หัวเรื่องหรือพาดหัว (headline) เป็นข้อความที่อยู่บนสุดของบทความแสดงถึงประเด็นหลักของบทความ หัวเรื่องมักถูกออกแบบให้โดดเด่นสะดุดตา และใช้คำที่เลือกสรรมาให้เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง หัวเรื่องหรือพาดหัวมักจะถูกเขียนหรือพิมพ์ด้วยรูปแบบอย่างย่อ ซึ่งอาจเรียบเรียงอย่างไม่เป็นประโยคหรือไวยากรณ์ที่ไม่สมบูรณ์
บรรทัดผู้เขียน
บรรทัดผู้เขียน (byline) เป็นบรรทัดแรกถัดจากหัวเรื่องหรือบรรทัดสุดท้ายในบทความที่ลงชื่อผู้เขียน อาจเป็นชื่อจริงหรือนามปากกาก็ได้ และมักจะระบุตำแหน่งงานของผู้เขียนอยู่ด้วย บรรทัดผู้เขียนอาจมีบทสรุปย่อของบทความด้วยก็ได้
นำเรื่อง
นำเรื่อง (lead) ซึ่งอาจเรียกว่าย่อหน้าแนะนำ บทนำ หรือคำนำ เป็นประโยคต่าง ๆ ที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง นำเรื่องแสดงให้เห็นถึงเรื่องที่ต้องการนำเสนอ ปรับน้ำเสียงและแนะนำผู้อ่านเข้าสู่บทความ
ในบทความข่าว ส่วนนำเรื่องจะให้ข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดและตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร ในบทความโดดเด่น (บทความที่บรรณาธิการหยิบยกขึ้นเพื่อนำเสนอเป็นประเด็นสำคัญ) ผู้เขียนอาจเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการเปิดเนื้อเรื่อง เช่นการใช้สิ่งต่อไปนี้
- เกร็ดขำขัน
- ถ้อยแถลงที่เขย่าขวัญหรือสะเทือนใจ
- การวางนัยทั่วไป
- สารสนเทศที่ไม่มีการปรุงแต่ง
- การพรรณนา
- คำพูดหรือวาทกรรม
- การตั้งคำถาม
- การเปรียบเทียบเปรียบเปรย
เนื้อเรื่อง
สำหรับบทความข่าว รายละเอียดและความละเอียดเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดแจ้งในเนื้อเรื่องของข่าว และดำเนินไปอย่างราบรื่นต่อจากนำเรื่อง คำพูดและวาทกรรมจะถูกใช้ในบทความเพื่อเพิ่มอรรถรสและสนับสนุนเนื้อหาที่เขียน นอกจากนี้บทความข่าวส่วนใหญ่ก็ใช้อุปลักษณ์แบบพีระมิดกลับหัว
บทความโดดเด่นจะใช้รูปแบบตามความเหมาะสมตามประเภทของบทความ โครงสร้างของบทความโดดเด่นอาจมีสิ่งต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้ [1]
- ลำดับเวลา — บทความอาจบรรยายด้วยการเรียงลำดับอย่างหนึ่ง
- เหตุและผล — สาเหตุและผลลัพธ์ของเหตุการณ์หรือกระบวนการที่พิจารณา
- การแบ่งประเภท — สิ่งต่าง ๆ ในบทความที่ถูกจัดกลุ่มเพื่อช่วยทำให้เกิดความเข้าใจ
- การเปรียบเทียบและการเปรียบต่าง — สิ่งต่าง ๆ สองสิ่งหรือมากกว่านั้นถูกพิจารณาเคียงข้างกันเพื่อให้เห็นความคล้ายหรือความต่าง
- รายการ — ชิ้นส่วนสารสนเทศที่ถูกจัดวางไว้เป็นรายการเป็นข้อ ๆ
- คำถามและคำตอบ — เช่นบทสัมภาษณ์ของผู้มีชื่อเสียงหรือผู้เชี่ยวชาญ
สรุปเรื่อง
ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างบทความข่าวกับบทความโดดเด่นคือการสรุปเรื่องเพื่อจบบทความ การจบบทความข่าวจะปรากฏเมื่อสารสนเทศทุกอย่างได้นำเสนอทั้งหมดแล้วตามมโนทัศน์พีระมิดกลับหัว ในทางที่ต่างกัน บทความโดดเด่นจำเป็นต้องใช้การจบบทความมากกว่า สรุปเรื่องของบทความดังกล่าวมีสิ่งต่อไปนี้ แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้
- คำพูดหรือวาทกรรมส่งท้าย
- การพรรณนาฉากหรือเหตุการณ์ต่อจากนี้
- การเล่นคำกับชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง
- ถ้อยแถลงสรุปความ