พระธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอรหันตสาวก

พระธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ

พระธาตุพระอรหันตสาวก

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสัจธรรม   มีหลักธรรมคำสอนที่สามารถปฏิบัติให้รู้ตามเห็นจริงได้  การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนานั้น  บรรลุที่ใจ  ไม่สามารถแสดงออกให้ผู้อื่นรู้เห็นได้
แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งซึ่งสามารถเป็นหลักฐานพยานแห่งการบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนา นั่นคือ พระธาตุ

พระธาตุ

พระธาตุ

คำว่า พระธาตุ เป็นคำกลางๆเรียกใช้แบบรวมๆ  ดังนั้นจึงมีการแยกประเภทของ พระธาตุ เป็น 2 ระดับคือ
ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุ
ของพระอรหันตสาวกเรียกว่า พระอรหันตธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้านั้น มีอยู่ 2 ประเภทคือ

พระธาตุ

1. พระพุทธสรีระธาตุองค์ใหญ่ (ประเภทไม่แตกกระจาย)  คงรูปตามเดิม มี 7 ส่วนคือ

1.1 พระอุณหิศ (กะโหลกศีรษะของพระพุทธเจ้าส่วนที่โปนออกไป) ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองอนุราชสิงหฬ
1.2 พระรากขวัญเบื้องขวา (ไหปลาร้า) ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองอนุราชสิงหฬ
1.3 พระรากขวัญเบื้องซ้าย(ไหปลาร้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พรหมโลก
1.4 พระทาฒธาตุขวาเบื้องบน(พระเขี้ยวแก้ว) ประดิษฐานอยู่ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
1.5 พระทาฒธาตุซ้ายเบื้องบน(พระเขี้ยวแก้ว ) ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารรัฐ
1.6 พระทาฒธาตุขวาเบื้องล่าง(พระเขี้ยวแก้ว)  ประดิษฐานอยู่ ณ ลังกาสิงหฬ
1.7 พระทาฒธาตุซ้ายเบื้องล่าง(พระเขี้ยวแก้ว)  ประดิษฐานอยู่ ณ นาคพิภพ

พระธาตุ

2. ประเภทแตกกระจายเป็นส่วนอื่นนอกจาก 7ส่วนนั้น จะไม่มีลักษณะเดิมของอัฐิเหลืออยู่ 

ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก

และขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเหลือง

พระธาตุ

พระธาตุ

พระธาตุ

พระธาตุ

พระธาตุ

พระอรหันตธาตุของสาวกนั้นมีลักษณะแตกต่างจากพระบรมสารีริกธาตุ  คือมีขนาดใหญ่กว่า  วรรณะหยาบกว่า  และหลากหลายลักษณะสัณฐานตามวาสนาบารมีของพระอรหันต์แต่ละองค์

พระธาตุ

ตัวอย่างสัณฐานของพระอรหันตธาตุของพระสาวกในสมัยพุทธกาลเช่น

พระธาตุพระสารีบุตร  สัณฐานเป็นปริมณฑลบ้าง  รีเป็นไข่จิ้งจก พรรณขาวสีสังข์  สีพิกุลแห้ง สีหวายตะค้า

พระธาตุ

พระธาตุพระโมคคัลลานะ สัณฐานกลม  หรือรีเป็นผลมะตูม สีเหลือง สีขาว  เขียวช้ำใน ลายดังไข่นกบ้าง  ร้าวเป็นสายเลือดบ้าง

พระธาตุ

พระธาตุ

พระธาตุพระสีวลี สัณฐานดังเมล็ดในพุทรา  หรือผลยอป่า  หรือเมล็ดมะละกอ  วรรณสีเขียวดังผักตบบ้าง  สีแดงแบบสีหม้อใหม่บ้าง  สีพิกุลแห้งบ้าง เหลืองดั่งหวายตะค้า หรือขาวดั่งสีสังข์บ้าง

พระธาตุ

พระธาตุ

พระธาตุพระอานนท์สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน  พรรณดำดั่งน้ำรัก  หรือสีขาวสะอาดดั่งสีเงิน

พระธาตุ

พระธาตุพระองคุลีมาล สัณฐานคอดดังคอลาก ที่มีรูโปร่งตลอดเส้นผมลอดได้ก็มี พรรณขาวดังสีสังข์

เหลืองดังดอกจำปา สีฟ้าหมอก

พระธาตุ

พระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ สัณฐานงอนช้อยดังงาช้าง พรรณขาวดังดอกมะลิตูม เหลืองอย่างหนึ่ง ดำอย่างหนึ่ง

พระธาตุ

อย่างไรก็ตามพระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุก็มีคุณสมบัติเหมือนกันคือ

1. หากมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวสารลงไปสามารถลอยน้ำได้  น้ำจะเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้และปรากฏรัศนีเป็นแฉกๆอยู่โดยรอบ

พระธาตุ   พระธาตุ

2. หากลอยน้ำพร้อมๆกันหลายองค์ก็จะค่อยๆลอยเข้าหากันและติดกันในที่สุด พระธาตุ

3. หากเป็นพระธาตุที่มีขนาดใหญ่ ก็สามารถที่จะเปล่งแสงในกาลเวลาอันสมควรได้ เสด็จมาเพิ่มจำนวนได้ เสด็จหายไปได้ ขยายองค์ใหญ่ขึ้นได้  รวมหลายองค์เข้าเป็นองค์เดียวได้

พระธาตุ

ในแผ่นดินไทยของเราได้รองรับพระพุทธศาสนาเป็นเวลาเกือบพันปี  มีผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก  แม้ในปัจจุบันก็ปรากฏเป็นข่าวเสมอว่ามีพระอริยสงฆ์ที่มรณภาพแล้ว อัฐิแปรสภาพเป็นพระธาตุ  จึงทำให้เกิดมีการบันทึกลักษณะการแปรสภาพจากอัฐิหรือเศษกายของพระอริยเจ้าสู่ความเป็นพระธาตุ

การแปรสภาพจากอัฐิเป็นพระธาตุมี 4 ลักษณะ

คือ

1. จากเดิมกระดูกเป็นฟอง  แล้วเริ่มหดตัวบางส่วน  รวมตัวเข้าเป็นผลึก  หินปูนจะมากขึ้นและเริ่มมน  จนเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์  มีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดข้าวโพด

2. จากกระดูกที่เป็นชิ้นยาว  แนวเยื่อกระดูกเป็นเส้นบางๆ  เยื่อกระดูกเกาะเป็นผลึกหินปูนจนเต็มรูพรุน  และแปรเป็นพระธาตุซึ่งคงรูปเดิมของชิ้นอัฐิ

3. ชิ้นอัฐิธรรมดามีองค์พระธาตุผุดขึ้นและค่อยๆโตขึ้น และหลุดออกเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์  

4. ในขณะเผาศพมีวัตถุธาตุเศษกาย  ส่องแสงประกายหยดออกจากร่าง  ตกกระทบกับสิ่งที่รองรับ  ก็กระจายออกเป็นพระธาตุขนาดต่างๆ

พระธาตุ

นอกจากการแปรสภาพของอัฐิ  ยังมีการแปรสภาพจากส่วนอื่น เช่น แปรสภาพจากเส้นเกสา  โดยมีการรวมตัวกันเป็นเส้นเกสา มีเส้นในใสๆ งอกออกมาเกี่ยวพันกันจนแน่น  แล้วรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันและเป็นพระธาตุในที่สุด  บางครั้งก็มีพระธาตุงอกออกมาจากปลายของเกสา และหลุดออกมาเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์

ในบางครั้งก็มีผลึกพระธาตุเสด็จมาประทับรวมกับเส้นเกสาโดยปาฏิหารย์   แม้ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็มี

การแปรสภาพเป็นพระธาตุจากส่วนต่างๆของร่างกายของท่าน  เช่น  กระดูกสะบ้า  เส้นเกสา เล็บ ฟัน  ชานหมาก  ข้าวก้นบาตร  เป็นต้น

แม้วัตถุมงคลของท่าน  บางครั้งก็มีพระธาตุเสด็จมาเกาะอยู่ด้วย  นอกจากนี้เถ้าอังคารก็สามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุได้  หรืออุจจาระของท่านก็สามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุ  จนบางสำนักต้องสั่งให้เอาปูนมาโบกทับส้วมของท่านไว้  ไม่ให้คนมาขุด  น้ำที่สรงอัฐิเก็บไว้ไม่เททิ้งก็มีการรวมตัวแปรสภาพเป็นพระธาตุได้

พระอริยสงฆ์ไทยที่แปรสภาพเป็นพระธาตุนั้น  มีจำนวนมากยิ่งนัก  อาธิเช่น

หลวงปู่เสาร์  กันตสีโล

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ครูบาศรีวิชัย  สิริวิชโย
ครูบาผาผ่า  ปัญญาวโร
หลวงปู่ดูลย์  อตุโล

หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี

หลวงปู่ต่วน  อินทปัญโญ
หลวงปู่ชอบ  ฐานสโม
หลวงปู่หลุย  จันทสาโร

หลวงปู่สีลา  อิสสโร
หลวงปู่ขาว  อนาลโย

หลวงปู่พรหม  จิรปุญโญ
หลวงปู่ตื้อ  อจลธัมโม
หลวงปู่แหวน  สุจินโณ

หลวงปู่ฝั้น  อาจาโร

หลวงปู่คำดี  ปภาโส
หลวงปู่ครูบาพรหมา  พรหมจักโก

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์  วัดนรนาคสุนทริการาม
หลวงปู่สิม  พุทธาจาโร

หลวงปู่เหรียญ  วรลาโภ
พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน)
หลวงปู่อุ่น  อุตตโม
หลวงปู่สาม  อกิญจโน

หลวงปู่บุญจันทร์  กมโล
หลวงปู่ชา  สุภัทโท

หลวงปู่บุญ  ชินวโส
หลวงปู่เจี๊ยะ  จุนโท

ครูบาบุญปั๋น  ธัมมปัญโญ
หลวงปู่ผาง  จิตตคุตโต
หลวงปู่บัว  สิริปุณโณ
หลวงปู่วัน  อุตตโม
หลวงปู่จวน  กุลเชฏโฐ

หลวงปู่สิงห์ทอง  ธัมมวโร
หลวงปู่สุภาพ  ธัมมปัญโญ
พระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ)

หลวงปู่หล้า  เขมปัตโต

หลวงปู่ผาง  ปริปุณโณ
หลวงปู่ลี  ฐิตธัมโม
พระโพธิธรรมาจารย์(หลวงปู่สุวัจน์  สุวโจ)

ครูบาสมหมาย  นันทิโย
คุณแม่ชีแก้ว  เสียงล้ำ

และยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม

สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัฐิของท่านแปรสภาพนั้น  มีผู้รู้กล่าวว่าเป็นเพราะพลังจิตของท่านที่ฝึกมาดีแล้ว  จิตของท่านเป็นจิตบริสุทธิ์  จึงทำให้กายของท่านเป็นของบริสุทธิ์ได้ด้วย

การแปรสภาพช้าหรือเร็วนั้น  ขึ้นอยู่ที่ว่าท่านบรรลุธรรมแล้วมีชีวิตอยู่ต่อนานหรือไม่  ถ้าท่านมีชีวิตครองธาตุขันธ์อยู่นาน  ย่อมเป็นที่แน่ใจได้ว่าจะสามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุได้แน่นอน  และรวดเร็ว  แต่ถ้าท่านบรรลุธรรมแล้ว  มรณภาพไปโดยเร็ว   ไม่เป็นที่แน่ใจว่าจะสามารถแปรสภาพเป็นพระธาตุได้หรือไม่  หรืออาจจะเป็นแต่ใช้เวลานาน

ร่างกายบางส่วนที่ท่านเพ่งจิตบ่อยๆก็สามารถจะแปรสภาพเป็นพระธาตุได้  และมีความใสบริสุทธิ์สะอาดกว่าส่วนอื่น เพราะธาตุกายเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพอย่างสูงสุดและพยายามแสวงหามาไว้สักการบูชา  บางครั้งก็ได้มาแต่เพียงอัฐิชิ้นเล็กๆที่ยังไม่แปรสภาพหรือเส้นเกสาที่ยังไม่แปรสภาพ  ถึงกระนั้นก็ยังเป็นที่หวงแหนของเจ้าของยิ่งนัก

เพราะพระธาตุนั้นเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  เป็นพยานแห่งการบรรลุธรรมให้ผู้ที่สักการบูชาได้ยึดถือเป็นแบบอย่างและมีกำลังใจในการทำความดี  มีกำลังใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เห็นธรรม  เพราะเมื่อเห็นพระธาตุแล้วก็รู้ว่าการปฏิบัติธรรมนั้นได้ผลจริง  บริสุทธิ์จริง พ้นทุกข์จริง

คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
นะโมฯ 3 จบ
อิติปิโส  วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ
อิเมนาพุทธตังโสอิ  อิโสตังพุทธปิติอิ

สถานที่จัดแสดงพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์  วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี

เอกสารอ้างอิง

  • สารคดีพระธาตุ วัดอโศการาม  พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและสมโภชน์  พระธุตังคเจดีย์  เมษายน พศ. 2551
  • ตำราพระธาตุ  พร้อมด้วยสัณฐานและวรรณพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพุทธสาวกขีนาสวะอรหันต์เจ้าทั้งหลายโดยสังเขป  ของโรงพิมพ์การศาสนา
  • พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์  นาวาอากาศโท  ภาสกร จูฑะพุทธิ

กลับหน้าเกาลัด

Google

Don`t copy text!