Movie

าพยนตร์ หรือ หนัง (Movie) คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิล์มชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง

(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

Movie

  1. Torrent

  2.  SubTitle

 

Home

เกาลัด

Google

 

Movie

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

าพยนตร์ หรือ หนัง (Movie) คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิล์มชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง

 

เทคโนโลยีภาพยนตร์

ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อย ๆ หากมีภาพต่อไปปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ปัจจุบัน ความเร็วที่ใช้ในการถ่ายทำคือ 24 เฟรม ต่อ 1 วินาที

ในยุคต่อมามีการพัฒนาภาพยนตร์สามมิติ โดยให้ผู้ชมสวมใส่แว่นตาพิเศษเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม โดยภาพที่เห็นมีมิติความลึกสมจริง ในปี พ.ศ. 2495 ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง Bwana Evil เป็นภาพยนตร์สามมิติเรื่องแรกและล่าสุดในปี 2010 “อวตาร” เป็นภาพยนตร์ที่มีคนเข้าชมในระบบ 3 มิติเป็นจำนวนมาก

Movie

ประวัติ

ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า “คิเนโตสโคป” (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า “ถ้ำมอง” มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็ก ๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kinetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที

ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ “ซีเนมาโตกราฟ” (Cinematograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า “ซีเนมา” (Cinema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน**

ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซี. ฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Biograph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา

พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบิร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย

ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD, DVD และ Blu-ray Disc เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต

Movie

พัฒนาการของภาพยนตร์

  • พ.ศ. 2438 ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก “Arrival of a Train at La Ciotat” ออกฉายที่กรุงปารีส มีความยาว 50 วินาที
  • พ.ศ. 2439 ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรกของโลก “The Devil’s Castle” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2439 ฉาก Love Scene ฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง “The Kiss” มีฉากจูบกันอย่างดูดดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 15 วินาที จากความยาวของภาพยนตร์ 47 วินาที
  • พ.ศ. 2440 ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับชาติสยามครั้งแรกถูกถ่ายทำขึ้น คือภาพยนตร์สั้นของการเสด็จประพาสยุโรปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2444 ภาพยนตร์ภัยพิบัติเรื่องแรกของโลก “Fire!” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2445 ภาพยนตร์แนวไซไฟ (นิยายวิทยาศาสตร์ Science Fiction) เรื่องแรกของโลก “A Trip to the Moon” ออกฉายก่อนการไปเยือนดวงจันทร์จริง 67 ปี
  • พ.ศ. 2448 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีสัตว์เป็นสุนัขร่วมแสดง “Rescued by Rover” ออกฉาย ใช้ทุนเพียง 37.40 ดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนต่ำที่สุด และ Guiness Book บันทึกไว้
  • พ.ศ. 2449 ภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกของโลก “The Story of the Kelly Gang” ออกฉายด้วยความยาว 70 นาที
  • พ.ศ. 2449 การ์ตูนเรื่องแรกของโลก “Humorous Phases of Funny Faces” ออกฉายที่อเมริกาความยาว 3 นาที
  • พ.ศ. 2457 ภาพยนตร์ตลกเรื่องแรกของโลก “Tillie’s Punctured Romance” ออกฉาย รับบทโดย ชาร์ลี แชปลิน
  • พ.ศ. 2458 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ยาวกว่า 100 นาที เรื่องแรกของโลก “The Birth of a Nation” ออกฉาย และเป็นเรื่องแรกที่ได้ฉายในทำเนียบขาว
  • พ.ศ. 2459 ฉากเปลือยฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง A Daughter of the Gods ถ่ายทำที่น้ำตก โดย Annette Kellerman ที่เปลือยเต็มตัว
  • พ.ศ. 2460 การ์ตูนยาวเรื่องแรกของโลก “El Apostol” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2466 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก “นางสาวสุวรรณ” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2468 เริ่มมีการฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก คือเรื่อง “The Lost World”
  • พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลก “The Jazz Singer” และภาพยนตร์ไทย ทำโดยคนไทยเรื่องแรก “โชคสองชั้น” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2471 ภาพยนตร์การ์ตูนมีเสียงเรื่องแรกออกฉาย คือ มิกกี้ เมาส์ Steamboat Willie
  • พ.ศ. 2475 ภาพยนตร์เสียงของไทยเรื่องแรก “หลงทาง” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์สีเรื่องแรกของไทย “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์”
  • พ.ศ. 2480 ภาพยนตร์การ์ตูนสีเรื่องยาวเรื่องแรกของโลก “สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง “วิมานลอย” (Gone With The Wind) เป็นภาพยนตร์ที่ยาวที่สุดในโลก ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 58 นาที
  • พ.ศ. 2488 ภาพยนตร์ที่มีคนแสดงร่วมกับตัวการ์ตูนเรื่องแรก “Anchors Aweigh” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2498 การ์ตูนไทยเรื่องแรก “เหตุมหัศจรรย์” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2499 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายภาพใต้ท้องทะเล “The Silent World” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2522 การ์ตูนไทยขนาดยาวเรื่องยาว “สุดสาคร” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2535 ภาพยนตร์เสียงเซอร์ราวนด์ 5.1 Dolby Digital ในฟิล์มเรื่องแรก “Batman Returns” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2536 ภาพยนตร์เสียงเซอร์ราวนด์ 5.1 DTSเรื่องแรก “Jurassic Park” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2536 ภาพยนตร์เสียงเซอร์ราวนด์ 7.1 SDDSเรื่องแรก “Last Action Hero” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2538 การ์ตูนที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ล้วนเรื่องแรก “ทอย สตอรี่” ออกฉาย
  • พ.ศ. 2538 ภาพยนตร์ไทยเสียงเซอร์ราวนด์ 5.1 Dolby Digitalในฟิล์มเรื่องแรก “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว” ออกฉาย

ภาพยนตร์สั้น

โดยทั่วไปหมายถึงภาพยนตร์ที่มีความยาวระหว่าง 20-40 นาที

Movie

รายชื่อภาพยนตร์แบ่งตามค่าย

Don`t copy text!