ในหลวงทรงผนวช
ในหลวงทรงผนวช ภาพเก่าเล่าเรื่องในหลวงทรงผนวช ในหลวง คือคำที่คนไทยใช้เรียกองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพเก่าเล่าเรื่อง “ภูมิพโลภิกขุ” …เมื่อในหลวงทรงผนวช
จงทรงอุปถัมภ์จัดแจงทะนุบำรุงเพื่อความงอกงามไพบูลน์แห่งพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระราชชนนี
ทรงจรดพระกรรไกร หลังพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499
ทรงเครื่องตามแบบผู้แสวงอุปสมบท ในหลวงเสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499
หลังจากทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการส่วนพระองค์ตามราชประเพณีแล้ว
สมเด็จพระราชชนนีฯ ถวายผ้าไตรเพื่อทรงขอบรรพชา
ในหลวงทรงผนวช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวง)
ทรงถือไตรเข้าไปขอบรรพชา
ในท่ามกลางสงฆ์ต่อสมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราชถวายโอวาทสำหรับบรรพชา และถวายผ้ากาสายะ
เพื่อได้ทรงครองอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ในหลวง) เสด็จฯ กลับ
เข้าในพระฉาก ทรงครองกาสาวพัสตร์ตามเพศบรรพชิต เสด็จเข้าไปรับสรณคมน์
และศีลต่อสมเด็จพระสังฆราช สำเร็จบรรพชากิจเป็นสามเณรแล้ว ทรงขอนิสัย
สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัธยาจารย์ ถวายพระสมณนามว่า ภูมิพโล
ทรงขออุปสมบท
สมเด็จพระราชชนนีฯ ถวายบาตรสำหรับพระราชพิธีอุปสมบทกรรม
พระสงฆ์ถวายการอุปสมบท โดยมีสมเด็จพระสังฆราช
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ ฉายา สุจิตฺโต ป.7)เป็นพระราชอุปัธยาจารย์
พระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี ป.9) วัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ทูลซักถามอันตรายิกธรรม
เมื่อทรงรับอุปสมบทเสร็จเป็นอันทรงดำรงภิกขุภาวะโดยสมบูรณ์แล้ว
สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.9) วัดเบญมบพิตร พระอนุศาสนาจารย์
ถวายอนุศาสน์
ในหลวงทรงผนวช
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ถวายเครื่องบริขาร
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ในหลวง)
พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์
(เจริญ สุวฑฺฒโน ป.9) วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จทางหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ทรงรถยนต์พระที่นั่งเข้าไปสู่พระพุทธรัตนสถาน ทรงประกอบพิธีตามราชประเพณี
มีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส 15 รูป เมื่อเสร็จอุปสมบทกรรมเวลา 17:43 น.
แล้ว เสด็จทรงรถยนต์พระที่นังพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัธยาจารย์
สู่วัดบวรนิเวศวิหาร
ในหลวงทรงผนวช
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เสด็จฯ พระราชทานกฐินในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2499
ในหลวงทรงรับบิณฑบาตรในพระราชวังดุสิต วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
เฝ้าในพระราชวังดุสิต วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499
เสด็จฯ ไปถวายดอกไม้ธูปเทียนพระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี ป.9)
พระกรรมวาจาจารย์ ฯ ถวายหนังสือพระวินัยมุนีฯ ถวายพระสีวลีที่ได้จากพม่า
พร้อมด้วยตะลุ่มมุกเล็ก ๆ ที่วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499
เสด็จฯ ไปถวายดอกไม้ธูปเทียน สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.9)
พระอนุศาสนาจารย์ ที่วัดเบญจมบพิตร สมเด็จฯ ถวายหนังสือ
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499
ทรงรับอัฏฐบริขารของ พณฯ ประธานาธิบดีแห่งประเทศพม่า
ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499
ทรงฉายพระรูปพร้อมด้วยพระเถรานุเถระทุกคณะ
ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2499
เสด็จฯ ทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระราชบิดา
ณ อนุสสรณี รังษีวัฒนา วัดราชบพิธ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2499
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและภรรยา เฝ้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียน
ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2499
ชาวอินเดียเฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร
เสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
เสด็จสักการะพระร่วงโรจนฤทธิ์แล้ว เสด็จฯ เข้าพระวิหารถวายสักการะ
พระบรมสารีริกธาตุ ทำวัตรแล้ว เสด็จฯ กระทำประทักษิณพระเจดีย์รอบบน
(รอบละ 300 เมตร) 1 รอบ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ทรงสดับพระปาฏิโมกข์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ทรงทูลลาสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์ บนตำหนักบัญจบเบญจมา
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ทรงเฝ้าสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์ บนตำหนักบัญจบเบญจมา
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
เสด็จฯ ออกบิณฑบาตรในถนนหลวง โดยไม่มีหมายกำหนดการ
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
อาหารที่ทรงรับบิณฑบาตรวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
มีเครื่องในไก่ผัดขิง 1 ห่อ ผัดถั่วฝักยาว 1 ห่อ กุนเชียงผัดหอมใหญ่กับหมู
เนื้อทอด ปลาสลิดเค็มทอด ปลาทูทอด รวมอาหารคาว 7 ห่อ ของหวาน
ขนมครก ถั่วแปบ ขนมบ้าบิ่น ส้มเขียวหวาน กล้วยหอม กล้วยไข่ โรตี เค็ก
ขนมปังปิ้งทาเนย รวม 9 อย่าง
ประทับในพระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ฉาย
พระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมด้วยเครื่องบริขาร วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
บนพระปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ทรงปลูกต้นสักข้างพระปั้นหยา วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ในการทรงลาผนวช วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ทรงแถลงการลาผนวช ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ในหลวง) เสด็จพระราชดำเนินไปยังตำหนักบัญจบเบญจมา
ทูลลาสมเด็จฯ พระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จฯ ถวายสรงน้ำพระพุทธมนต์ ถวายพระพร
บนที่ประทับตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังทรงลาผนวชแล้ว
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
พระที่นั่งอัมพรสถาน วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ก่อนหน้าพระราชพิธีทรง ผนวชเพียงวันเดียว คือวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรุดหนักลงอย่างน่าวิตก มีพระอาการไข้สูงจนถึงไม่รู้สึกพระองค์ ปรอทขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียสเศษ เป็นที่กังวลห่วงใยกันทั่วไปว่าจะไม่สามารถเสด็จไปทรง ปฏิบัติหน้าที่พระราชอุปัธยาจารย์ในวันรุ่งขึ้น ครั้นถึงวันทรงผนวช สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากลับทรงฟื้นขึ้นเป็นปรกติอย่างน่าอัศจรรย์ และเสด็จไปทรงปฏิบัติหน้าที่พระราชอุปัธยาจารย์ได้ครบถ้วน แม้ว่าพระองค์จะต้องประทับอยู่ในพระราชพิธี ตั้งแต่เวลา 14:30 น. จนกระทั่งถึงเวลา 19:30 น. จึงเสด็จกลับถึงวัดบวรนิเวศวิหารพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ามหาชนซึ่งแวดล้อมแน่นขนัดมาได้โดยเรียบร้อย รวมเป็นเวลาถึงห้าชั่วโมงก็ ตาม ก็มิได้ทรงมีพระอาการผิดปรกติแต่อย่างใด แสดงให้เห็นถึงพระทัยอันเด็ดเดี่ยวเข้มแข็งของพระองค์ในอันที่จะทรงปฏิบัติ พระกรณียะอันสำคัญนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปให้จงได้ ทั้งนับได้ว่า เป็นพระบุญญาภินิหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้
ขณะประทับรถยนต์พระที่ นั่งกับพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากพระบรมมหาราชวังถึงวัดบวร นิเวศวิหาร ได้มีการจัดรถหมอให้แล่นตามหลังรถพระที่นั่งและให้คอยสังเกตองค์สมเด็จพระ สังฆราชเจ้า ถ้าเห็นพระเศียรฟุบก็ให้รีบเข้าไปแก้ไขทันที และครั้งหนึ่งได้เห็นพระเศียรฟุบลง รถหมอจะแทรกเข้าไปอยู่แล้ว ก็พอดีเห็นเงยพระเศียรขึ้นเป็นปกติเลยไม่เกิดอลหม่าน ทราบกันภายหลังว่า ทรงก้มลงหยิบอะไรบางอย่างที่ตกลงไป
เนื่องในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ออกทรงผนวชครั้งนี้ ได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระคุณูปการอันอเนกของสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราช ผู้ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระราชอุปัธยาจารย์ ทั้ง ๆ ที่มีพระอาการประชวรทุพพลภาพ ได้เอาพระทัยใส่ในอันที่จะถวายความรู้ทางพุทธศาสนาและถวายโอกาสให้ได้ทรง ปฏิบัติสมณกิจให้ได้ผลเต็มตามภิกขุภาวะเป็นนานับปการ จึงได้มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขึ้น ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499
ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังมีพระเถรานุเถระที่ได้ปฏิบัติการสนองพระเดชพระคุณเป็นพิเศษ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา คือ
สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร
พระอนุศาสนาจารย์ ดำรงสมณศักดิ์สุดขีดอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อวันพระราชพิธีฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในหลวงทรงผนวช
พระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
พระกรรมวาจาจารย์ โปรดให้เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ต่อมาในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร ทำหน้าที่รับเสด็จดูแลแทนเจ้าอาวาสเป็นครั้งคราวที่เจ้าอาวาสประชวร แต่ดำรงสมณศักดิ์สูงอยู่แล้ว
ในหลวงทรงผนวช
พระโศภณคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.9) วัดบวรนิเวศวิหาร พระพี่เลี้ยงฉลองพระเดชพระคุณใกล้ชิดตลอดเวลา เป็นพระธรรมวราภรณ์ พระราชาคณะชั้นธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร และในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก คือสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบัน นับเป็นพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ส่วนพระราชาคณะในวัดบวรนิเวศวิหารรูปอื่น ๆ ก็ได้มีหน้าที่ถวายการสั่งสอนหรือสนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดอย่างอื่น ๆ อีก ทุกรูปที่มีทางเลื่อนสมณศักดิ์ได้ก็โปรดพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพิเศษในพระ ราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาศก 2499 แล้วเหมือนกัน
อ้างอิง
พระราชพิธีและพระราชกรณียกิจในการทรงพระผนวช
22 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2499
คณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
จัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี