เกาลัด Kaolud Chestnut
Chestnut มีหลากหลายประเภท มีลักษณะเป็นผลมีเปลือกแข็งห่อหุ้มเนื้อที่รับประทานได้ ส่วนลักษณะภายนอกที่จะมาห่อหุ้มเปลือกแข็งนั้นมีได้หลายแบบ บางประเภทมีลักษณะคล้ายขนเงาะ บางประเภทมีลักษณะคล้ายกำมะหยี่แดงสดมาห่อหุ้มเปลือกแข็งอีกที รวมทั้งลักษณะของใบก็จะแตกต่างออกไปอีกด้วย ภาษาอังกฤษ คำว่า chestnut จึงเป็นคำเรียกโดยรวมของผลที่มีลักษณะเบื้องต้นดังกล่าว อย่างไรก็ตามเกาลัดในประเทศไทยที่นิยมนำมารับประทานกันค่อนข้างมากก็คือ เกาลัดจีน เกาลัดญี่ปุ่น ซึ่งเรียกเพี้ยนมาจากภาษาจีน แต่เรียกกันมานานจนคำว่า เกาลัด เป็นคำที่ใช้เรียก chestnut กลุ่มนี้ไปโดยปริยาย Kaolud
ต้นเกาลัด ประเภทที่นิยมทานกัน แล้วมีขายทั่วไป นำมาคั่วกับทรายจนสุก คือ เกาลัดจีน เกาลัดญี่ปุ่น โดยใบมีขอบหยัก ส่วนลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด จะมีเปลือกที่มีขนคล้ายผลเงาะ เมล็ดเกาลัด ลูกเกาลัด มักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงเกือบดำ ขนาดความสูง อาจมีความสูง 10-30 เมตร ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศที่ปลูก ต้นเกาลัดจีน ต้นเกาลัดญี่ปุ่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่สามารถปลูกได้ในประเทศไทย
ส่วนต้นเกาลัด ที่มีลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด ที่มีเปลือกหุ้มสีเขียวไม่มีขน ใบจะเรียบไม่มีหยักเหมือนเกาลัดจีน เมื่อลูกเกาลัดเริ่มโตขึ้นจนเปลือกสีเขียวเปลี่ยนเป็นเปลือกหุ้มสีแดง เปลือกมีความนุ่มเล็กน้อย จนดูคล้ายๆลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด มีเปลือกกำมะหยี่สีแดงมาห่อหุ้ม เมื่อเริ่มปริออก จะเห็นลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัดด้านใน 2-3 เมล็ดต่อหนึ่งฝักโดยส่วนใหญ่ เกาลัดชนิดนี้คือ เกาลัดไทย ที่ออกดอกเป็นพวงช่อ ดอกเกาลัดมีลักษณะเล็กสีขาวไปถึงชมพูอ่อน รวมกันเป็นช่อดูสวยงาม มักออกดอกได้ทั่วทั้งต้น และยิ่งเมื่อติดลูกแล้วเปลือกเปลี่ยนเป็นสีแดงทำให้ดูสวยงามมาก จึงสามารถนำมาปลูกเพื่อประดับสวนเพื่อความสวยงาม ถือว่าต้นเกาลัดเป็นไม้มงคลอีกประเภทหนึ่ง
ต้นเกาลัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบมีขนาดใหญ่ ใบเกาลัดไม่ร่วงง่าย ต้นเกาลัดไม่ว่าจะเป็นเกาลัดไทย เกาลัดจีน เกาลัดญี่ปุ่น ให้ร่มเงาได้ดี
นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นเกาลัดไทย เกาลัดจีน เกาลัดญี่ปุ่น เมื่อนำลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัดมาทำให้สุกโดยวิธีการต้ม นึ่ง อบ หรือคั่ว ก็สามารถรับประทานได้ทั้งสิ้น
การปลูก เกาลัด Kaolud Chestnut
ต้นเกาลัดสามารถทำการปลูก หรือเพาะพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น ปลูกจากลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัดโดยตรง หรือการตอนกิ่งเกาลัด เป็นต้น
การปลูกเกาลัดจากลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัดนั้นต้องใช้เวลาและความอดทนในการรอคอย เนื่องจากกว่าจะรอให้ต้นเกาลัดเจริญเติบโตจนสามารถผลิดอกออกผลให้ชื่นชมได้นั้นต้องอาศัยเวลาอย่างน้อย 6 ปีขึ้นไปทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพดินที่ใช้ปลูกต้นเกาลัดดังกล่าว รวมถึงสภาพดินฟ้าอากาศ การรดน้ำเป็นประจำ และเมื่อเริ่มติดดอก ถ้าเป็นช่วงอากาศร้อนเกินไป โดนแดดจัดเกินไป ก็จะทำให้ดอกเกาลัดแห้งไปจนไม่สามารถติดลูกได้ และเมื่อติดลูกแล้วยังต้องระวังสัตว์ประเภทกระรอกที่ชอบแทะและสะสมลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด เป็นอย่างยิ่ง ข้อดีในการปลูกเกาลัดโดยใช้ลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด คือ ได้ต้นเกาลัดที่เป็นไม้ยืนต้นที่มีรากแก้ว จะทำให้ต้นมีความแข็งแรงไม่ล้มง่ายเนื่องจากรากแก้วจะฝังรากลึกลงไปยังดินคล้ายตอกเสาเข็มนั่นเอง
การปลูกเกาลัด ด้วยวิธีตอนกิ่งนั้นสามารถขยายพันธุ์ต้นเกาลัดได้รวดเร็วกว่าการปลูกเกาลัดด้วยลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด การตอนนั้นก็ทำตามขั้นตอนการตอนกิ่งโดยทั่วไป บางคนเคยลองตอนกิ่งเกาลัด โดยไม่ต้องใช้ดิน ใช้เพียงกาบมะพร้าว รากก็งอกออกมาแล้วค่อยตัดกิ่งตอนที่มีรากงอกแล้วไปลงดินต่อไปได้เช่นกัน
ในอดีตพอได้ชื่อว่า ต้นเกาลัด kaolud ส่วนใหญ่ก็คิดว่าจำเป็นต้องทำการปลูกในท้องถิ่นภูมิประเทศที่มีอากาศเย็น เช่น ในภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วแม้ในภาคกลางก็สามารถปลูกได้ เพียงแต่การผลิดอกเกาลัด เพื่อหวังผลให้ได้ลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด จำนวนมากนั้นอาจต้องรดน้ำให้ถึ่ขึ้น
การปลูกต้นเกาลัด ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นก็มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเกาลัดไทย เกาลัดจีน เกาลัดญี่ปุ่น ก็สามารถให้ร่มเงา กรองฝุ่นละออง ดูดอากาศเสียจากสภาพแวดล้อมที่ต้นเกาลัดนั้นๆปลูกอยู่ได้เป็นอย่างดี เนื้อไม้สามารถนำไปประยุกต์ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ แม้ว่าจะมียางบ้างก็ตาม เนื่องจากต้นเกาลัดเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปเป็นวงกว้างจีงจำเป็นต้องมีเนื้อที่ที่ใช้ในการปลูกเพื่อให้ต้นเกาลัดสามารถเติบโตแผ่กิ่งก้านได้เต็มที่ ก็จะได้ต้นเกาลัดที่มีความสวยงาม เป็นไม้มงคล ไม้ยืนต้นที่มีดอกเกาลัด ลูกเกาลัด เมล็ดเกาลัด ที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นเกาลัด (kaolud) พันธุ์ใดก็ตาม
เกาลัดไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาลัดไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sterculia monosperma) เป็นพืชท้องถิ่นในจีนตอนใต้ บริเวณกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ไต้หวัน จากนั้นจึงมีการแพร่กระจายไปยังอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ผลเป็นผลแห้ง แตกเปลือกแข็ง เปลือกสีแดง หุ้มเมล็ดสีดำข้างใน เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเป็นสีเหลืองสด ผลเมื่อนำไปต้มหรือคั่วก่อนจะรับประทานได้ ไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี เนื้อไม้มีเรซินมาก นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้
อ้างอิง
- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. เกาลัดไทย ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 281
เกาลัดจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาลัดจีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Castanea mollissima) เป็นไม้ผลัดใบในวงศ์ Fagaceae ใบรูปไข่ ขอบหยักเป็นรูปฟัน ท้องใบมีขนสีขาวปกคลุม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน ดอกเป็นช่อยาว ตั้งตรง ออกตามซอกใบ ผลกลม เปลือกหุ้มผลมีหนามแหลมแข็งสีเขียวปกคลุม ใต้เปลือกมีกะลาสีน้ำตาล หุ้มเนื้อในสีขาว รสชาติหวานมัน ผลแก่ แตก
การใช้ประโยชน์ เกาลัด Kaolud Chestnut
ชาวยุโรปนิยมนำเกาลัดมาอบหรือปิ้งให้สุก และแกะเนื้อในเมล็ดมารับประทาน ในขณะที่ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นนำเกาลัดไปทำอาหารหลายอย่าง ชาวญี่ปุ่นนำไปทำเป็น คิวทง เกาลัดหวาน หมั่นโถวเกาลัด วุ้นเกาลัด ชาวจีนนิยมนำมาทำอาหารคาว เช่น ตุ๋น ผัดโหงวก๋วย บ๊ะจ่าง ทำขนม เช่น เกาลัดกวน เต้าทึง หรือต้มทำเครื่องดื่ม
อ้างอิง
- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. เกาลัดจีน ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 279
เกาลัดญี่ปุ่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาลัดญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japanese Chestnut; ชื่อวิทยาศาสตร์: Castanea crenata)เป็นเกาลัดชนิดหนึ่งที่เป็นพืชพื้นเมืองของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สูง 10-15 m ใบคล้ายกับเกาลัดหวาน ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ยาว 8-19 cm และกว้าง 3-5 cm ดอกสมบูรณ์เพศ ยาว 7-20 cm ออกดอกในฤดูร้อน ติดผลในฤดูใบไม้ร่วง
การปลูก เกาลัด Kaolud Chestnut และใช้ประโยชน์
เกาลัดญี่ปุ่นเป็นผลไม้ที่สำคัญในญี่ปุ่น มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลขนาดใหญ่ มีการปลูกทั่วไปในจีนทางตะวันออกและไต้หวัน
อ้างอิง
ตำรายาจีน
จากข้อมูลตำรายาจีนแนะนำว่า หากกินเมล็ดดิบจะแก้อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ และถ้าหากเคี้ยวดิบ ๆ ค่อย ๆ ซึมซับเอาน้ำเกาลัดเข้าไปจะแก้คออักเสบ หากเอาเกาลัด 7 ลูกไปต้มกับข้าวกล้อง ใส่เซ่งจี๊ จะช่วยแก้อาการปวดหลัง ถ้าท้องเสีย โดยเฉพาะในเด็ก ให้เอาเกาลัดมาบดเป็นแป้งแล้วต้มกับพลับแห้ง จนเป็นแป้งเปียก กินไปจนกว่าอาการท้องเสียจะทุเลาลง ถ้าใครที่ร่างกายอ่อนแอและกำลังฟื้นไข้ใช้สูตรนี้ สุขภาพก็จะฟื้นเร็วยิ่งขึ้น