TV Online

TV Online เป็น page รวม links ในการดูทีวีออนไลน์

TV Online

ทีวีออนไลน์ : Links ดูทีวีออนไลน์

1.  http://tv.guchill.com/

2. http://tv.trueid.net/live

 

 

Home

เกาลัด

Google

 

TV Online

โทรทัศน์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรทัศน์ในประเทศไทย ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มใช้ย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60 ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ส่งสัญญาณระหว่างช่องสัญญาณที่ 21-48) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง พ.ศ. 2517 ใช้ระบบสัญญาณแอนะล็อก ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีบริการโทรทัศน์แห่งชาติ ภายใต้กำกับของกรมประชาสัมพันธ์ เริ่มจากส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 และเริ่มดำเนินการในส่วนกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน จากนั้นก็เริ่มนำระบบดิจิทัล เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรายการ และควบคุมการออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และนำมาใช้กับกระบวนการส่งแพร่ภาพ ผ่านโครงข่ายอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยจะยุติการออกอากาศด้วยสัญญาณแอนะล็อก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ส่วนระบบการออกอากาศด้วยช่องทางอื่น ซึ่งนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (Multichannel multipoint distribution service; MMDS) ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2556, ผ่านคลื่นวิทยุไมโครเวฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2540, ผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน, ผ่านเครือข่ายดาวเทียม ระบบเคยู-แบนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532-ปัจจุบัน; ระบบซี-แบนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน อนึ่ง ภาคเอกชนสามารถประกอบการธุรกิจโทรทัศน์ ภายใต้การอนุมัติจากภาครัฐตามกฎหมาย โดยผ่านสายอากาศในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และผ่านเครือข่ายดาวเทียม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน

โทรทัศน์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรทัศน์ในประเทศไทย ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มใช้ย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60 ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ส่งสัญญาณระหว่างช่องสัญญาณที่ 21-48) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง พ.ศ. 2517 ใช้ระบบสัญญาณแอนะล็อก ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีบริการโทรทัศน์แห่งชาติ ภายใต้กำกับของกรมประชาสัมพันธ์ เริ่มจากส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 และเริ่มดำเนินการในส่วนกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน จากนั้นก็เริ่มนำระบบดิจิทัล เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรายการ และควบคุมการออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และนำมาใช้กับกระบวนการส่งแพร่ภาพ ผ่านโครงข่ายอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยจะยุติการออกอากาศด้วยสัญญาณแอนะล็อก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ส่วนระบบการออกอากาศด้วยช่องทางอื่น ซึ่งนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (Multichannel multipoint distribution service; MMDS) ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2556, ผ่านคลื่นวิทยุไมโครเวฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2540, ผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน, ผ่านเครือข่ายดาวเทียม ระบบเคยู-แบนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532-ปัจจุบัน; ระบบซี-แบนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน อนึ่ง ภาคเอกชนสามารถประกอบการธุรกิจโทรทัศน์ ภายใต้การอนุมัติจากภาครัฐตามกฎหมาย โดยผ่านสายอากาศในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และผ่านเครือข่ายดาวเทียม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน

TV Online

TV Online

Don`t copy text!